วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 5 ลักษณะโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์


โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
ขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต มักมีโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์แฝงมากับข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า มัลแวร์( malware ) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย หรือ รบกวนระบบคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น
ไวรัส ( virus ) 
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่น แล้วแพร่กระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นบันทึก แฟลชไดรฟ์ หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เวิร์ม ( worm ) 
หรือหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง หรือ หยุดทำงาน
ม้าโทรจัน ( trojan horse ) 
เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่น เช่น การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม หรือ โปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์ ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรมนี้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อาจจะมีไวรัสซึ่งติดมากับม้าโทรจันนี้เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้
สปายแวร์ ( spyware ) 
เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือ ทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ และ ทำให้ประสิทธิภาพให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง เช่น คีย์ล๊อคเกอร์ ( key-logger) เป็นสปายแวร์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ดของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ได้
แอดแวร์ ( adware ) 
เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่าง ป๊อปอัพ ( pop – up ) ที่มีการโฆษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ 
สแปม ( spam ) 
เป็นการใช้ระบบส่งอีเมลในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปมที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโฆษณาขายสินค้า บริการ ท่องเที่ยว ชักชวนประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ผ่านระบบอีเมลที่เรียกว่า เมลขยะ ( junk mail ) นอกจากนี้อาจมีการส่งผ่านสื่ออื่น เช่น การส่งสารทันที โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมออนไลน์ โปรแกรมค้นหา บล็อก หรือ วิกิ ซึ่งส่งผลให้เกิดการรบกวนการใช้สื่อสารเหล่านั้น
ที่มา : oogle.com/site/kruyutsbw/5-4-porkaerm-thi-mi-phung-prasngkh





วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 4 เครือข่าย

บทที่4ครือข่าย

1.ความหมายของเครือข่าย
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆแล้วทำไมเราถึงต้องใช้เครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย การที่เรานำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกัน เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากระบบ หรือระบบสามารถทำอะไรได้บ้าง ทำให้ใช้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้ (Resources Sharing) ซึ่งเป็นการช่วย ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสะดวก ในการใช้งาน เช่น การใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกันสามารถบริหารจัดการการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management) เช่น สร้างเวิร์กกรุป กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถทำการ สำรองข้อมูล ของแต่ละเครื่องได้ สามารถทำการสื่อสาร ภายในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ เช่น อีเมล์, แชท (Chat), การประชุมทางไกล (Teleconference), และ การประชุมทางไกล แบบเห็นภาพ (Video Conference)มีระบบรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล บนเครือข่าย (Network Security) เช่นสามารถ ระบุผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล ในระดับต่างๆ ป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติ เข้าถึงข้อมูล และให้การคุ้มครอง ข้อมูลที่สำคัญ ให้ความบันเทิงไม่รู้จบ (Entertainment) เช่น สามารถสนุกกับ การเล่นเกมส์ แบบผู้เล่นหลายคน หรือที่เรียกว่า มัลติ เพลเยอร์(Multi Player) ที่กำลัง เป็นที่นิยมกันอยู่ในเวลานี้ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตร่วมกัน (Internet Sharing) เพียงต่อเข้าอินเทอร์เน็ต จากเครื่องหนึ่งในเครือข่าย โดยมีแอคเคาท์เพียงหนึ่งแอคเคาท์ ก็ทำให้ผู้ใช้อีกหลายคน ในเครือข่ายเดียวกัน สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ เสมือนกับมีหลายแอคเคาท์
2.วัตถุประสงค์ของการใช้เครือข่าย
วัตถุประสงค์ของการเลือกใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เพื่อ

1. สามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้
ก็คือ เครื่องลูก(Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
2. เพื่อความประหยัด
เพราะว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องไหนก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
3. เพื่อความเชื่อถือได้ของระบบงาน
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบ Computer Network มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
4. ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง
เมื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในที่ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น บริษัทแม่อยู่ที่ กรุงเทพ ส่วนบริษัทลูกอาจจะอยู่ตามต่างจังหวัด แต่ละที่ก็มีการเก็บข้อมูล การเงิน ประวัติลูกค้า และอื่นๆ แต่ถ้าต้องการใช้ข้อมูลของอีกที่หนึ่งจะเกิดความลำบาก ล่าช้า และไม่สะดวก จึงมีการนำหลักการของ Computer Network มาใช้งาน เช่น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือโปรแกรม ข้อมูล ร่วมกัน

3.อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย
1.โมเด็ม (Modem)โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem
2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LANเป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps

ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

3. เกตเวย์ (Gateway)เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
4. เราเตอร์ (Router)เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล

ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้

5. บริดจ์ (Bridge)บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย
6. รีพีตเตอร์ (Repeater)รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่

ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ

เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.  สายสัญญาณเป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
-     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย
-     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล

ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ

8.  ฮับ (HUB)เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต
4.ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายระดับท้องถิ่น (Local  Area  Network,  LAN)

เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในพื้นที่บริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเข้าเป็นเครือข่าย เช่นในห้องเดียวกัน ในชั้นอาคารเดียวกัน หรือภายในอาคารเดียวกัน

2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan  Area  Network,  MAN)

ส่วนใหญ่จะเป็นการรวมกลุ่มเครือข่ายระดับท้องถิ่นหลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกันทำให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลเข้าเครือข่ายได้ เช่น เครือข่ายระดับ MAN ของมหาวิทยาลัย เชื่อมโยงเครือข่ายระบบ LAN ของแต่ละคณะหรือหน่วยงาน เป็นต้น

3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide  Area  Network,  WAN) 

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รวมเครือข่าย LAN และ MAN เป็นเครือข่ายเดียวกันหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง อาจจะทั่วทั้งประเทศ หรือข้ามประเทศก็ได้ เช่น เครือข่ายของสายการบิน ที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายกันทั้งในระดับเมือง และระดับประเทศ และข้ามทวีป ทำให้สามารถครอบคลุมการบินได้ทั่วโลก  

5.เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
โดยมอบหมายให้กลุ่มมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ทำการวิจัย และเชื่อมโยงเครือข่าย พัฒนาการส่วนนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2522 การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ดำเนินการต่อมา ถึงแม้ว่าในช่วงหลังกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาเลิกให้การสนับสนุนแต่เครือข่ายนี้ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนา มาตรฐานต่างๆ เข้ามาใช้อย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้กลายเป็นมาตรฐานการสื่อสารชื่อ TCP/IP และใช้ชื่อว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet)สำหรับในประเทศไทยเริ่มมีการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลียซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรกใน ช่วงระยะเวลา เดียวกันนี้ ทรวงวิทยาศาสตร์ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติก็ได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์์ระหว่างมหาวิทยาลัย

          จากนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงปี พ.ศ.2534 ที่กองทหารรัสเซีย ได้ปิดล้อม และดำเนินการปฏิวัติ มีการวางแผนปิดการสื่อสารทุกชนิด ทั้งทางด้านวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ระหว่างประเทศ ทำให้ข่ายการสื่อสารระหว่างประเทศถูกตัดขาดจากโลกภายนอกแต่ปรากฏว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ยังใช้การได้ ข้อมูลข่าวสารจำนวนมากจึงไหลออกไปยังภายนอกทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้บุคคลภายนอกได้รับทราบข่าวสาร ทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์์แห่งนี้อย่างรวดเร็ว เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2535 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยก็เช่นกัน คนไทยในต่างแดนจำนวนมากทราบข่าวสาร อย่างรวดเร็วผ่านทาง เครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีผู้รายงานข่าวเข้าสู่อินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ข่าวสารได้กระจายออกไปยังทั่วโลก 

6.การเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP

การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง

การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
- การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)
7.คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
- Computer Network  คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่มีความสามารถติดต่อกันเพื่่อแลกเปลี่่ยนข้อมูลกันได้
- E-mail : Electronic Mail   คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  หมายถึง วิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย 
- Database หมายถึง ความสามารถในการใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อมๆกัน 
- Personal Computer : PC คือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หมายถึง  เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาย่อมเยา สำหรับใช้ส่วนบุคคล แต่ในปัจจุบันยังหมายรวมถึง คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (desktop computer) คอมพิวเตอร์แบบพกพา (laptop computer) และคอมพิวเตอร์แบบรับข้อมูลด้วยการเขียนบนจอภาพ (tablet computer)

- Resource หมายถึง ทรัพยากรทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- Per User License หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่จะต้องระบุจํานวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใด แต่ในการทํางานจริงๆ แล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
- Network Interface Card:NIC  หมายถึง การ์ดที่เสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นชุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
- Protocol  หมายถึง ภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Network Operating System:NOS คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย
- Hub  หมายถึง อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครื่องจำนวนมากเข้าด้วยกันในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Repeater หมายถึง อุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายเคเบิล 2 เส้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
- Switch สวิตช์เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายลักษณะเดียวกับฮับและมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่วงจรการทำงานภายในจะใช้หลักการของวงจรสวิตชิ่งที่สลับการส่งข้อมูลในแต่ละพอร์ตไปมาไม่ได้แบ่งช่องทางการส่งผ่านข้อมูลเหมือนฮับจึงท าให้แต่ละพอร์ต (Port) มีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า
- Bridge  บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน บริดจ์เป็น
 เสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป
- Router  เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เสมือนสะพานสำหรับเชื่่อมต่อเครือข่ายท้องถิ่น หรือระบบเครือข่าย LAN (Local Area Network) เข้ากับระบบเครือข่าย WAN (Wide Area Network) ขนาดใหญ่และเมื่อเครือข่าย LAN ถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยใช้เราท์เตอร์เครือข่าย LAN แต่

ละฝั่งจะยังคงมีเครือข่ายที่เป็นของตนเอง ไม่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายของอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการเครือข่ายภายใน
- Gateway  เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายที่มีความซับซ้อนมากกว่าเราท์เตอร์หรือบริดจ์ เพราะอุปกรณ์ชนิดนี้สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลใน Data link และ Network Layer  ที่แตกต่างกันได้มากกว่า 2  ระบบ การท างานของเกตเวย์ทุกระดับชั้นจะเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/OSI Model  เกตเวย์สามารถเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลจากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลในโปรแกรมประยุกต์ได้
- Operating System:OS  ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ ฮาร์ดดิสก์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เป็นต้น
- Coaxial Cable  สายโคแอ็กเชียล มีลักษณะคล้ายกับสายเคเบิลทีวี คือ มีแกนเป็นทองแดงห่อหุ้มด้วยฉนวน แล้วหุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกสุดเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายประเภทนี้นิยมใช้มากในเครือข่ายสมัยแรกๆ แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้ว เปลี่ยนเป็นการใช้สายคู่เกลียวบิดแทน
- Twisted Pairs  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน สายสัญญาณจะประกอบด้วยสายทองแดงที่ห่อหุ้มด้วยฉนวน 2  เส้นแล้วบิดเป็นเกลียว เหตุที่บิดเป็นเกลียวก็เพื่อลดสัญญาณรบกวนนั่นเอง สายสัญญาณนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแบ่งตามคุณภาพของสายสัญญาณ ได้แก่ สายสัญญาณโทรศัพท์ที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งจะมีสายทองแดงทั้งหมด 2 คู่ ส่วนหัวที่ใช้ต่อสายนี้จะเรียกว่า หัว RJ-11 ส่วนสายคู่บดเกลียวที่นิยมใช้ในระบบเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต คือ สาย UTP (Unshielded Twisted Pair)  ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ แต่มีคุณภาพดีกว่า โดยมีสายทองแดงทั้งหมด 4 คู่ ส่วนหัวเชื่อมต่อจะเรียกว่า หัว RJ-45 
- Fiber Optic  สายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้แสงเป็นสัญญาณ และแก้วหรือพลาสติกใสเป็น
สื่อน าสัญญาณ ในขณะที่สายคู่เกลียวบิดและสายโคแอ็กเชียลใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อ ข้อเสียของสายสัญญาณประเภทโลหะคือ จะถูกรบกวนจากแหล่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ได้ง่าย เช่น ฟ้าผ่ามอเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น แต่สายใยแก้วน าแสงใช้สัญญาณแสง ดังนั้นจึงไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  จึงทำให้สายใยแก้วนำแสงสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราสูงและระยะไกลกว่า แต่การผลิต การติดตั้งและดูแลรักษาจะยุ่งยาก และราคาแพงกว่าสายที่เป็นโลหะ ดังนั้นสายใยแก้วนำแสงจึงเหมาะสำหรับลิงค์ที่ต้องการแบนด์วิธีสูง และมีความเชื่อถือได้สูง และสำหรับการส่งข้อมูลระยะไกล เช่น ลิงค์หลัก (Backbone) ของระบบเครือข่าย
-  Data Terminal Equipment : DTE  เป็นแหล่งกำเนิดและรับข้อมูล เช่น คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัล-คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
-  Data Communication Equipment : DCE  เป็นอุปกรณ์ในการรับ/ส่งข้อมูล เช่น โมเด็ม จานไมโครเวฟ หรือจานดาวเทียม Fibrotic Infrared Wireless เป็นต้น
- Message  ข่าวสาร คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร บางครั้งเรียกว่าสารสนเทศ (Information) รูปแบบของข่าวสารมี 4 รูปแบบคือ เสียง ข้อมูล ข้อความ และภาพ เป็นต้น
- Medium  เป็นสื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นก าเนิดไปยังปลายทางสื่อกลางนี้อาจจะเป็น เส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล หรือสายไฟเบอร์ออปติก เป็นต้น หรืออาจจะเป็นคลื่นที่ส่งผ่านในอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
 - Baseband  เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวสำหรับการส่งสัญญาณดิจิทัลในแต่ละครั้งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักใช้การส่งสัญญาณชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ไม่ซับซ้อนและสามารถจัดการควบคุมง่าย
- Broadband  เป็นการใช้ช่องทองการสื่อสารหลายช่องทางเพื่อส่งสัญญาณอนาล็อก โดยแต่ละครั้งข้อมูลสามารถจัดส่งหรือลำเลียงบนช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการส่งสัญญาณชนิดนี้จะมีระบบการจัดการที่ยุ่งยากกว่าการส่งสัญญาณแบบเบสแบนด์มาก เพราะจะต้องจัดการกับจำนวนข้อมูลต่างๆ ที่ลำเลียงอยู่บนหลายช่องความถี่บนสายส่ง สำหรับสื่อกลางข้อมูลที่น ามาใช้เพื่อส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์นั้น จะรับรองความเร็วที่สูงกว่าแบบเบสแบนด์ และมีต้นทุนสูงกว่า โดยปัจจุบันมักมีการนำเทคโนโลยีบรอดแบนด์มาใช้งานตามบ้านเรือนที่พักหรือองค์กรธุรกิจมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- Cellular Radio คือ คลื่นวิทยุ เป็นลักษณะของระบบสื่อสารวิทยุ เป็นสื่อกลางการสื่อสารแบบไร้สายที่สามารถแพร่ได้บนระยะทางไกล เช่น ระหว่างเมืองหรือระหว่างประเทศ และยังไม่รวมถึงการแพร่บนระยะทางสั้นๆ อย่างไรก็ตาม คลื่นวิทยุนั้นมีความเร็วค่อนข้างต่ า อีกทั้งไวต่อสัญญาณรบกวน แต่ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง สะดวกต่อการใช้งาน และผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- Microwave คือ คลื่นไมโครเวฟ เป็นการส่งสัญญาณข้อมูลไปกลับคลื่นไมโครเวฟเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กัน จากหอ (สถานี) ส่งรับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอหนึ่งแต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30 - 50 กม.
- Satellite  คือสัญญานดาวเทียม เป็นลักษณะของการรับส่งสัญญาณข้อมูลอาจจะเป็นแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) หรือแบบแพร่สัญญาณ (Broadcast) สถานีดาวเทียม 1  ดวง สามารถมีเครื่องทบทวนสัญญาณดาวเทียมได้ถึง 25 เครื่อง และสามารถครอบคลุมพื้นที่การส่งสัญญาณได้ถึง 1 ใน 3ของพื้นผิวโลก 

          เครื่องทบทวนสัญญาณของดาวเทียมเรียกว่า (Transponder) ไปยังสถานีปลายทาง การส่งสัญญาณข้อมูลขึ้นไปยังดาวเทียมเรียกว่า "สัญญาณอัปลิงก์" และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับลงมายังพื้นโลกเรียกว่า "สัญญาณ ดาวน์-ลิงก์"

- Bluetooth   ลักษณะของบลูทูธเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1998 ใช้ความถี่ในการส่งสัญญาณข้อมูล 2.5 GHz. สื่อสารได้ในระยะทางไม่เกิน 10 เมตร สื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลาย ๆ อุปกรณ์ได้
- Infrared  ลักษณะของแสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นไมโครเวฟ

ตรงที่การส่งสัญญาณเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตาเหมือนกัน คลื่นอินฟราเรดนิยมน ามาใช้งานส าหรับการสื่อสารระยะใกล้ โดยมีอุปกรณ์หลายชิ้นในปัจจุบัน เช่น รีโมตคอนโทรล คอมพิวเตอร์ และรวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ และกล้องดิจิทัล ซึ่งจะมีพอร์ต IrDA  ที่ใช้ส าหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่สื่อสารด้วยคลื่นอินฟราเรด
- Wireless  ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)  หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การ
ติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2  เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ท าให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวก ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทย (Radio)  หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้
- Local Area Network : LAN  เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น
Metropolitan Area Network : MAN  คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
- Wide Area Network : WAN  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มีการติดต่อต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่ายระยะไกลจึงต้องอาศัยระบบบริการข่ายสายสาธารณะ เช่น การสื่อสารแห่ง ประเทศไทย ใช้วงจรสื่อสารผ่านดาวเทียม ใช้วงจรสื่อสารเฉพาะกิจที่มีให้ บริการแบบสาธารณะ เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกล และต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศ มีบริการรับฝากและถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
- Ethernet  เป็นระบบ LAN ที่พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่ คือ บริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปx ค.ศ. 1976 เริ่มจากศูนย(วิจัย PARC (Palo Alto Research Center ของ Xerox) โดยถูกจัดให้เป็นมาตรฐานของ IEEE ในกลุ่มที่มีรหัส 802.3 และใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายถึงปัจจุบัน อีเธอร์เน็ตในระยะแรกใช้สาย Coaxial เป็นหลัก ต่อมาได้พัฒนาไปใช้สายแบบ UTP มากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มความเร็วจาก 10 Mbps ขึ้นเป็น 100-1000 Mbps (1 Gbps) ในปัจจุบัน และอาจถึง 10 Gbps ในอนาคตอันใกล้นี้ 

- Token Ring   เป็นการต่อ LAN ในแบบ ring และใช้การควบคุมแบบ token-passing ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม โดยในรุ่นแรกๆ จะมีความเร็วเพียง 4 Mbps แต่ต่อมาได้ปรับปรุงเป็น 16 Mbps สายที่ใช้จะเป็นแบบพิเศษมี 2 คู่ ต่อเข้ากับอุปกรณ์รวมสายที่เรียกว่า MAU (Multiple Access Unit) ซึ่ง 1 ตัวต่อได้ 8 เครื่อง และพ่วงระหว่าง MAU แต่ละตัวเข้าด้วยกันได้อีก

- Client/Server Network  เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ 
- Peer to Peer Network เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน
- Internet  เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในอินเทอร์เน็ตได้

- Intranet เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บอีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท  อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้น การแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ต 

- Extranet เครือข่ายร่วม  เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือ บริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสอง องค์กรจะต้องตกลงกัน

- Open Systems Interconnect Model : OSI  เป็นแบบจำลองที่อธิบายถึงโครงสร้างการทำงานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 7 เลเยอร์ที่มีหน้าที่ต่างๆ กัน โดยได้รับการคิดค้นและพัฒนาขึ้นในปี 1984 โดย Open Systems Interconnect นั่นเอง การเรียงตัวของเลเยอร์จะถูกจัดจากบนลงล่าง โดยประกอบไปด้วยเลเยอร์ Application, Presentation, Session, Transport, Network, Data Link และ Physical   
- Institute of Electrical and Electronics Engineers : IEEE เป็นองค์กรสากลที่สร้างและพัฒนามาตรฐานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการสื่อสารและวิทยาการคอมพิวเตอร์มีการประกาศมาตรฐานต่างๆ ไว้มากกว่า 900 มาตรฐาน 

8.จริยธรรมในการใช้อินเตอร์เน็ต

ตอบ  1. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึงสิทธิที่จะอยู่ตามลำพังและเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้
- การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
- การใช้เทคโนโลยีในกาติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน
- การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
- การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าใหม่ขึ้นมาแล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
2. ความถูกต้อง (Information Accuracy)
ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งคือความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่
3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property)
ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศมักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงเครื่องเดียว ในขณะที่บางโปรแกรมอนุญาตให้ใช้ได้หลายเครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมให้กับบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าท่านมีสิทธิในโปรแกรมนั้นในระดับใด
4. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
คือการป้องกันการเข้าไปดำเนินการกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบเช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ถือว่าเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกัน หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
1. ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
2. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
3. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
4. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ
บัญญัติ 10 ประการ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ



วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 3 ซอฟต์แวร์

บทที่3 ซอฟต์แวร์
ความหมายของซอฟแวร์ 
การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์
       ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้
      ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
       ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
ชนิดของซอฟแวร์
ชนิดของซอฟต์แวร์ 
     ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซอฟต์แวร์

เหล่านี้อาจได้รับ การพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิด

ของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงานพอแบ่งแยก ซอฟต์แวร์ได้เป็นสองประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) 

และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) 
         1. ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ
คือดำเนินงาน พื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมาย

ให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผล บนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูล

บนหน่วยความจำรองเมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์

์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้ เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้
ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือ
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ 

DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น 
        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมา
ใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์

์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น

ใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบัน มีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ 

1. ซอฟต์แวร์ระบบ 
       คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดระบบ เพื่อใช้ในการจัดระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย 
          1.1 ใช้ในการจัดหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทาง
จอภาพหรือ เครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า ละส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง

          1.2 ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูล จากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก 
          1.3 ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสาระบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล
           ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ตัวแปลภาษา และโปรแกรมยูทิลิตี้ ซอฟต์แวร์ทั้งสามประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น 
            1. ระบบปฏิบัติการ
                ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียนย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาก และเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) 
                  1.1 ดอส เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบที่พัฒนามานานแล้วการใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษรดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ 


                  1.2 วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส เพื่อเน้นการใช้งานที่ง่ายขึ้น สามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างที่แสดงผลบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถ ใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ตำแหน่งเพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฎบนจอภาพ ทำใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย วินโดวส์จึงได้รับความนิยมในปัจจุบัน
                  1.3 โอเอสทู เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับวินโดว์ส แต่บริษัทผู้พัฒนาคือ บริษัทไอบีเอ็ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้ทำงานได้หลายงานพร้อมกันและการใช้งานก็เป็นแบบกราฟิกเช่นเดียวกับวินโดวส์ 
                  1.4 ยูนิกซ์ ป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั่งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถ ใช้งานได้หลายงานพร้อมกัน และทำงานได้หลาย ๆ งาน ในเวลาเดียวกัน ยูนิกซ์จึงใช้ได้กับเครื่องที่เชื่อมโยงและต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่องพร้อมกัน                    


                  ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกัน เป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์วินโดว์เอ็นที การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะตัวประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การและงบประมาณที่มี 


            2. ตัวแปลภาษา 
                ในการพัฒนาซอฟต์แวร์จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็น
ภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงมีหลายภาษา ภาษาระดับสูงเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมเขียนชุดคำสั่งได้ง่าย เข้าใจ

ได้ง่ายตลอดจนถึงสามารถปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ในภายหลังได้ภาษาระดับสูงที่พัฒนาขึ้นมาทุกภาษาจะต้องมีตัวแปลภาษา

สำหรับแปลภาษา ภาษาระดับสูงซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันมากในปัจจุบันเช่น ภาษาปาสคาล ภาษาเบสิก ภาษาซี และภาษาโลโก 
                  2.1 ภาษาปาสคาล เป็นภาษาสั่งงานคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบเป็นโครงสร้างเขียนสั่งงานคอมพิวเตอร์เป็น
กระบวนความ ผู้เขียนสามารถแบ่งแยกงานออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วมารวมกันเป็นโปรแกรมขนาดใหญ่ได้ 

                  2.2 ภาษาเบสิก เป็นภาษาที่มีรูปแบบคำสั่งไม่ยุ่งยาก สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย มีรูปแบบคำสั่งพื้นฐานที่สามารถนำมาเขียนเรียงต่อกันเป็นโปรแกรมได้ 
                  2.3 ภาษาซี เป็นภาษาที่เหมาะสมใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ ภาษาซีเป็นภาษาที่มีโครงสร้าง
คล่องตัวสำหรับการเขียนโปรแกรมหรือให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ 

                  2.4 ภาษาโลโก เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้และเข้าใจหลักการโปรแกรมภาษาโลโก
ได้รับการพัฒนาสำหรับเด็ก

                 นอกจากภาษาที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกมากมายหลายภาษา เช่น ภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล ภาษาอาร์พีจี 
            3. โปรแกรมยูทิลิตี้ ( Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ให้บริการต่าง ๆ เช่น การจัดเรียงข้อมูล
ตามหลักใดหลักหนึ่ง รวมแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับแล้วเข้าด้วยกัน หรือย้ายข้อมูลจากอุปกรณ์รับส่งอย่างหนึ่งไปยังอีก

อุปกรณ์หนึ่ง ประกอบด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ได้แก่ Editor, Debugging, Copy

 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ 
    การที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการที่มีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้มีการ
ใช้งาน คล่องตัวขึ้น จนในปัจจุบันสามารถนำคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ติดตัวไปใช้งานในที่ต่าง ๆ ได้สะดวกการใช้งาน

คอมพิวเตอร์ ์ต้องมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีผู้พัฒนาเพื่อใช้งานทั่วไปทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น 

หรืออาจเป็นซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะซึ่งผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการทำงานของตน 
          2.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จ 
                ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป ซอฟต์แวร์สำเร็จ ( Package ) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยม
ใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง

ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ( word processing software ) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ( spread sheet software ) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ( data base management software ) ซอฟต์แวร์นำเสนอ ( presentation software ) และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ( data communication software ) 

                 2.1.1 ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสารสามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ 
และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้

การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม                      ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำ                      ที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น เวิร์ด จุฬาจารึก โลตัสเอมิโปร 

                 2.1.2 ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์
์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ

และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความ หรือสูตร สามารถสั่งให้

คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนดผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่นๆ

ได้กว้างขวางซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น เอกเซล โลตัส 

                 2.1.3 ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูล

ที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน

ไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลทีนิยมใช้ เช่น เอกเซล ดีเบส พาราด็อก ฟ๊อกเบส 

                 2.1.4 ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูด
ความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น เพาเวอร์พอยต์ โลตัสฟรีแลนซ์ ฮาร์วาร์ดกราฟิก 

                 2.1.5 ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลนี้หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกลโดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้                    

เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่ง

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหา

มินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล ที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ 
เช่น โปรคอม ครอสทอล์คเทลิก

           2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ 
                 การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้นการใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงาน
ทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงาน

การขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงาน

แต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย 
                  ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการ

ของธุรกิจนั้น ๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ

ที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรมบริหารการเงิน 

และการเช่าซื้อ ความต้องการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทางธุรกิจยังมีอีกมาก ดังนั้นจึงยังมีความต้องการผู้พัฒนา

ซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะต่าง ๆ อีกมากมาย

 สรุปได้ว่า ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

      ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับ
คอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ 

         1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft Windows 
         2. โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือยูทิลิตี้ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่าง
การประมวลผลข้อมูล หรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร

์ ( Editor) 

         3. โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ให้อยู่ในรูปแบบที่
เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

     ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้
สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 

         1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไปและประยุกต์ใช้งานอื่น เป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไป
ไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing , Spreadsheet, Database Management Hypertext, 

Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น 
        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของ
การนำไปใช้