ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่
1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Technology เรียกย่อๆ ว่า “IT” หรือ ไอที
โดยมีคำที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 คำคือ
เทคโนโลยี
(Technology) หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ
ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน
เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด
หากนำมาสกัดด้วยเทคโนโลยีและใช้เทคนิควิธีการสร้างเป็นชิป (chip) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
สารสนเทศ
(Information) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน
สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น
และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล
ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติม
เทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์
มาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน
ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นสื่อหลัก
ทั้งนี้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศที่สำคัญได้แก่
เทคโนโลยีการสื่อสาร
คอมพิวเตอร์ สารสนเทศ ขั้นตอนวิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร
เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่ 1 บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้
แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก
ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใ ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจการค้าและการอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ
เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา
ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น
ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการ และการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น
ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครืองบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน
สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นักเรียน
นักศึกษาสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น
สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์
ที่จัดทำด้วยระบบ
ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล
ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญ
ที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ดังจะเห็นได้จากการพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ
และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบ
ประโยขน์และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่ 1
ประโยขน์และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว
เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุค สารสนเทศ
ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณแต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล
เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้นทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมากมีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยรวมกล่าวได้ดังนี้
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง
มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น
มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น
ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบ ไฟฟ้าภายในบ้าน
เป็นต้น
สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน
ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและ การแก้ปัญหาในโรงเรียน
ปัจจุบันมีการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง จำเป็นต้องใช้สารสนเทศเช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล
มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ
การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงแก้ไข
การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ
ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วยที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหาร
มีการใช้เทคโนโลยี
อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม
มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตในอุตสาหกรรม
และการพาณิชยกรรม
การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก
ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทมาก
มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหาร และการจัดการ
การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้นด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
เทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่ 1
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information
system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่
ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง
และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ
และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร
เทคโนโลยีแห่งอนาคต2020
ขอบคุณวีดีโอจาก youtube
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
รูปที่ 1
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
1.7 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน
การจัดการและปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล
ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กรหไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5 องค์ประกอบ
ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร
และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1.7.1 ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ
รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย
1.7.2 ซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง
ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน
ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง
และส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กร
ส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการ
โดยการว่าจ้างบริษัทที่รับพัฒนาซอฟต์แวร์
หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น
1.7.3 ข้อมูล
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ
เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้
เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย
มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร
ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
1.7.4 บุคลากร
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ
และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ
บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด
โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น
โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น
ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก
อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง
เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน
ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง
ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล
ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลเสียหาย
และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ
และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น